ความแตกต่างระหว่างโรคมือปากเท้าเปื่อยในคนกับ โรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์
โพสเมื่อ : วันที่ 26 มิถุนายน 2555
เอกสารแนบ :

ความแตกต่างระหว่างโรคมือปากเท้าเปื่อยในคน

(Hand Foot and Mouth Disease) กับ โรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์ (Foot  and  Mouth  Disease)

 

พยนต์  สินสุวงค์วัฒน์ ,  สุวรรณี  ท้วมแสง

 

บทนำ

                โรค มือ ปาก เท้า เปื่อย (HFMD) และโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล  (family)  Picornaviridae เช่นเดียวกัน  แต่แตกต่างกันที่โรคมือ ปาก และเท้าเปื่อย (HFMD) จะเกิดและระบาดในคน  ส่วนโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) จะเกิดและระบาดในสัตว์เช่น โค กระบือ แพะ แกะ และสุกร  แม้ว่าโรคทั้ง 2 โรคจะแสดงอาการทั้งในคนและสัตว์คล้ายคลึงกัน  คือ หลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน จะเกิดตุ่มใสขึ้นภายในช่องปาก  ลิ้น  มือ  และเท้าก็ตาม  ดังนั้นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องจึงควรทำความเข้าใจต่อโรคทั้ง 2 ให้ถ่องแท้ว่าเป็นคนละโรคและไม่สามารถติดต่อกันระหว่างคนกับสัตว์และสัตว์กับคนได้

 

ตารางจำแนกความแตกต่างระหว่างโรคมือปากเท้าเปื่อย (HFMD) และโรคปากและเท้าเปื่อย  (FMD)

 

โรค HFMD

โรค FMD

การเกิดโรค  เกิดในคน

สาเหตุ  เกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล (Family) Picornaviridae  สกุล  (Genus) Enterovirus เป็นไวรัสที่ไม่มี envelope  เป็น Single Stranded RNA  virus  ขนาดเล็กประมาณ  20-30  nm  ซึ่งไวรัสในสกุล (Genus) Enterovirus  นี้จะมีไวรัสอยู่หลายชนิดและทำให้เกิดโรคต่าง ๆ แล้วแต่ชนิดของไวรัส  ได้แก่

-          Poliovirus  type  1, 2, 3

-          Coxsackie  A  type 1-24

-          Coxsackie  B  type  1-6

-          Echovirus  type 1-34

-          Enterovirus  type  68-71

-          Enterovirus  type  72  (hepatitis A)

 

การเกิดโรค  ในสภาพธรรมชาติเกิดในสัตว์กีบคู่เช่น โค กระบือ แพะ แกะ และสุกร ฯลฯ

สาเหตุ  เกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล (Family) Picornaviridae  สกุล  (Genus) Apthovirus  เป็นวัรัสที่ไม่มี Envelope, เป็น Single Stranded  RNA  virus  ขนาดเล็กประมาณ  24  nm  ซึ่งไวรัส โรคปากและเท้าเปื่อย  จะมีในโลกนี้  7  ชนิด (type) แต่ละชนิดจะทำให้เกิดโรคปากและเท้าเปื่อย เช่นเดียวกันทั้งหมด แต่ความรุนแรงต่างกัน แล้วแต่ชนิดของไวรัส ได้แก่

-       ไทป์โอ (O)  แบ่งเป็นชนิดย่อย (Subtype) ได้     11 ชนิด คือ  O1 – O11   พบได้ทั่วโลก

-       ไทป์ เอ (A)  แบ่งเป็นชนิดย่อย (Subtype) ได้ 32 ชนิด คือ A1-A32 พบได้ทั่วโลก

 

 

 

โรค HFMD

โรค FMD

ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคมือ ปาก เท้า เปื่อย  คือ ไวรัส Coxsackie A  โดยเฉพาะไวรัส  Coxsackie A 16 และ Enterovirus  โดยเฉพาะไวรัส Enterovirus  71 โดยถ้าเกิดจากเชื้อไวรัส Coxsackie virus A 16 จะไม่รุนแรงมากและหายเองภายใน 7 วัน แต่ถ้าหากเกิดจากเชื้อ Enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน เพราะเชื้อจะทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบได้

 

 

การแพร่ระบาด  ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคมือปากเท้าเปื่อยสามารถแพร่ระบาดได้ในคน  โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ  การติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางปากโดยตรง  โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย  น้ำมูก  หรืออุจจาระของผู้ป่วย  หรืออาจเกิดจากการไอจามรดกัน  นอกจากนั้นยังสามารถตรวจเชื้อโรคมือปากเท้าเปื่อยได้  ในน้ำ,  ดิน,  ผักสด  และสัตว์น้ำที่มีเปลือกหุ้ม  โรคนี้สามารถระบาดได้ตลอดทั้งปี  โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน

อาการ   จะพบอาการภายใน  3-6  วัน หลังจากได้รับเชื้อและร่างกายอ่อนแอลง โดยในเด็กจะพบอาการไข้อ่อน ๆ, อ่อนเพลีย, เบื่ออาหาร  ต่อมาอีก 1-2 วันจะมีตุ่มใสเกิดขึ้นภายในปาก, ลิ้น, เพดาน และกระพุ้งแก้ม นอกจากนั้นจะพบตุ่มใสนี้เกิดขึ้นตามมือ, เท้า และอาจพบที่ก้นด้วย หลังจากนั้นตุ่มใสเหล่านี้จะเต็มไปด้วยเชื้อไวรัสโรคมือ ปาก เท้า เปื่อย  ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการระบาดของโรคได้ถ้าหากไปสัมผัสโดยไม่มีการป้องกัน  แผลจากตุ่มใสเหล่านี้และอาการต่าง ๆ จะหายเองภายใน 7-10 วัน แต่ถ้าหากโรคนี้มีสาเหตุเกิดมาจาก  Enterovirus 71  อาจจะมีอาการรุนแรง มีไข้สูง เบื่ออาหาร อาเจียนบ่อย เกิดสภาวะสมองหรือ

-       ไทป์ ซี (C) แบ่งเป็นชนิดย่อย (Subtype) ได้ 5 ชนิด คือ C1-C5 พบได้ทั่วโลก

-       ไทป์ SAT 1 แบ่งเป็นชนิดย่อย (Subtype)ได้ 7 ชนิด คือ SAT 1/1-SAT1/7 พบในอาฟริกา

-       ไทป์ SAT2 แบ่งเป็นชนิดย่อย (Subtype) ได้ 3 ชนิด คือ SAT 2/1-SAT2/3 พบในอาฟริกา

-       ไทป์ SAT3 แบ่งเป็นชนิดย่อย(Subtype) ได้ 4 ชนิด คือ SAT3/1-SAT3/4 พบในอาฟริกา

-       ไทป์ Asia 1 แบ่งออกเป็นชนิดย่อย(Subtype) ได้ 3 ชนิด คือ Asia1/1-Asia1/3 พบในเอเซีย

การแพร่ระบาด ในประเทศไทยในปัจจุบันพบการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยอยู่ 3 ชนิด (type) คือไทป์โอ (O) ชนิดย่อย (Subtype) O1, ไทป์เอ (A) ชนิดย่อย (Subtype) A15-A22 และไทป์เอเชียวัน(Asia1)การระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยสามารถระบาดได้จากทางอาหาร  น้ำ  และการคมนาคม  จะสามารถนำโรคจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งได้  การระบาดทั้งในโค  กระบือ  และสุกร  จะเป็นไปอย่างรวดเร็วแบบไฟลามทุ่ง  ถ้าหากปศุสัตว์นั้น ๆ ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอย่างสม่ำเสมอ

อาการ  ระยะฟักตัวขึ้นอยู่กับปริมาณ ชนิดของไวรัส และวิธีที่ได้รับเชื้อ ประมาณ 3-9 วัน อาการทุกไทป์จะแสดงอาการคล้ายคลึงกันมาก  จนไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นชนิด (type) ใดนอกจากการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ  อาการโดยทั่วไปคือสัตว์ที่เป็นโรคจะมีอาการซึม  น้ำลายไหล  กินอาหารไม่ได้  มีเม็ดตุ่มใสเกิดขึ้นบริเวณปาก  ลิ้น  เหงือก  กระพุ้งแก้ม  ตุ่มนี้จะแตกภายใน 4-7 วัน  หลังจากนั้นจะไปเกิดเม็ดตุ่มใสขึ้นที่บริเวณกีบเท้าทั้ง 4  เหนือไรกีบ  สัตว์ให้นมปริมาณน้ำนมจะลดลง  สัตว์ท้องอาจแท้งได้

 

โรค HFMD

โรค FMD

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด  อาจทำให้เสียชีวิตได้ดังนั้นจึงควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด     และนำไปพบแพทย์ที่ใกล้ที่สุดทันที

การรักษา  ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะแต่จะรักษาตามอาการ

การเกิดภูมิคุ้มโรค  ผู้ป่วยที่หายจากโรคมือ ปาก เท้า เปื่อย แล้วจะมีภูมิคุ้มต่อโรคนี้โดยเฉพาะผู้ชายจะมีภูมิคุ้มโรคดีกว่าผู้หญิง

การป้องกัน

          1.  จัดการสุขอนามัยชุมชนให้ดีขึ้นเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค  โดยเฉพาะในโรงเรียนระดับอนุบาลและอนุบาลก่อนวัยเรียน

2.  หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือภาชนะ

และอุปกรณ์ของเล่นของผู้ป่วย

          3.  ในกรณีที่พบการระบาดในพื้นที่เดียวกันให้สอบสวนหาสาเหตุของการระบาดเพื่อกำหนดแนว ทางการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

โรคนี้เกิดได้ในสัตว์ทุกอายุ  แต่ในสัตว์อายุน้อยจะพบมากและเป็นรุนแรงกว่า  ซึ่งจะมีอัตราการตายสูง

                   

การรักษา  ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ  แต่จะรักษาตามอาการ

การเกิดภูมิคุ้มโรค  สัตว์ป่วยที่หายจากโรคปากและเท้าเปื่อยแล้วจะมีภูมิคุ้มต่อการติดโรคไทป์เดียวกันนี้เป็นเวลานาน 1-2 ปี

การป้องกัน

        1.   รักษาความสะอาดและสุขอนามัยที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์  ส่วนสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรรายย่อยควรดูแลสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรงและรักษาความสะอาดของคอกให้ดี

        2.   ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยให้แก่สัตว์ตามกำหนด     (Prophylactic vaccination programme)

        3.   กรณีเกิดการระบาดของโรคควรแยกสัตว์ป่วยออกจากสัตว์ที่เป็นโรค กักกันสัตว์ที่เป็นโรค และทำการฆ่าเชื้อบริเวณที่เลี้ยง  หรือคอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ  เช่น  โซเดียมคาร์บอเนต 4% ฯลฯ และไม่ควรนำเนื้อสัตว์ที่เป็นโรคมาบริโภค

       และทำการควบคุมโรคโดยการฉีดวัคซีนแบบวงแหวน (Ring vaccination) โดยการฉีดในสัตว์ปกติล้อมรอบอุบัติการโรคเป็นแนวกันชนเพื่อลดจำนวนสัตว์ไวต่อโรคเพื่อป้องกันสัตว์ปกติที่อยู่ภายนอกวงแหวน และต้องควบคุมพาหะการนำโรคด้วย

 

 

เอกสารอ้างอิง

  1. รสริน  บวรวิรยพันธ์ : 2547 ; ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค มือ ปาก เท้า เปื่อย (Hand Foot Mouth Disease). เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enterovirus ; http://micro.Sci.ku.ac.th/fscicvk/virologyreport2547/entero-ppt
  2. พยนต์  สินสุวงศ์วัฒน์ : 2547 ; ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการผลิตวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย ; วารสารชีวผลิตภัณฑ์  ปีที่ 14  ฉบับที่ 1; 64 P
  3. ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค ; ไวรัสเอนเตอโร 71 (Enterovirus 71) ; ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคติดเชื้อและพาหะนำโรคhttp://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=1065
  4. สำนักโรคติดต่อทั่วไป ; โรคมือเท้าปาก (Hand, Foot and Mouth Disease) ; http://thaigcd.ddc.moph.go.th/EID_HFMD_knowhow_050218_html.
  5.  สมศักดิ์ พันธุวัฒนา : 2527 ; ไวรัสวิทยาทั่วไป, ภาควิทยาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ; 223P.
  6. APIS.2002. Foot & Mouth Disease Pages. Animal and plant inspection service. US. Department of Agriculture’s (USDA)
  7. CNN. Com ; Health/library ; Hand-Foot-and-Mouth disease ; http://www.cnn.com/HEALTH/library/DS/00599.html.
  8. health A to Z ; Encyclopedia Index H ; Hand-Foot-and-Mouth disease ; http://www.heal thatoz.com/healthatoz/Atoz/ency/hand_foot_and_mouth_dise…
  9. Hedger, R.S : 1981 ; Foot-and-Mouth Disease ; Infectious Disease of Wild Mammals (second edition) ; P. 87-96
  10. Reveyemamu, Mark. M : 1984 ; Antigenic variation in Foot-and-Mouth Disease : studies based on the virus neutralization reaction ; Journal of Biological standardization ; vol. 12 ; P 323-337
  11. Wikipedia, the free encyclopedia ; Hand ; foot and mouth disease ;

        http://en. Wikipedia.org/wiki/Hand,_foot_and_mouth_disease.